ที่มาและความสำคัญ
โครงการพัฒนากำลังคนโดยเพิ่มผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษา-อาชีวศึกษาและเครือข่าย ด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง (Robotics, AI, and Coding: RAC) เป็นโครงการวิจัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งหมด 4 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะ ด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง (Robotics, AI, and Coding: RAC) ให้กับเยาวชนในระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลายและอาชีวศึกษาร่วมกัน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมตัวอย่างตามจุดแข็งของทั้ง 4 หน่วยงานเพื่อ สร้างกำลังคน เพื่อเป็นกำลังสำคัญที่ตอบสนองต่อกลุ่มอุตสาหกรรมในอนาคตของประเทศไทยทั้งในด้านหุ่นยนต์ ยานยนต์แห่งอนาคต การแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นต้น เนื่องจากวิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ล้วนเป็นฐานและหัวใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมรวมไปถึงกระบวนการผลิตแห่งอนาคต ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ยังขาดแคลนกำลังคนในปัจจุบัน โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาภาครัฐ และภาคเอกชน ในการเพิ่มกำลังคนผู้มีความสามารถพิเศษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษาด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง
เพื่อรวบรวมเนื้อหาและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษาใช้ในการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ
เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้มีความสามารถพิเศษมีสมรรถนะที่สูงขึ้นทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา
เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลผู้มีความสามารถพิเศษกับโครงการพัฒนาเพิ่มผู้มีความสามารถพิเศษอื่นๆ ไปสู่ National Talent Poolเพื่อการใช้ประโยชน์กำลังคนระดับสูงของประเทศ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- หลักสูตรและเนื้อหาที่พัฒนาขึ้นถูกนำไปใช้ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในวงกว้างรวมทั้งมีความยืดหยุ่นในการประยุกต์ใช้
- ครูได้พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้งเพื่อนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนที่เพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการกับการประกอบอาชีพในอนาคต
- ครูและนักเรียนระดับมัธยมตอนปลายและอาชีวศึกษาได้องค์ความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาจริง
- การเชื่อมโยงข้อมูลของผู้มีความสามารถพิเศษกับ National Talent Pool
- ระบบการจัดการกลุ่มเครือข่าย (Consortium) ของโครงการการพัฒนาผู้มีความสามารถ พิเศษด้าน RAC
- การสร้างความทัดเทียมและลดความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษาด้วยการกระจายองค์ความรู้
- การเพิ่มศักยภาพด้านบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของภาคเอกชนและภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
- การยกระดับความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาการหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง ของประเทศสู่ความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคและระดับสากลได้อย่างยั่งยืน
ขอบเขตพื้นที่ของโครงการ
ภาคกลาง
กรุงเทพมหานคร พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
ภาคตะวันออก
สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคตะวันตก
ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้
ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง ตรัง ปัตตานี สงขลา สตูล นราธิวาส และยะลา
หลักสูตร
พื้นฐานวิทยาการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ
(Basic Robotics and Automation)
บทนำของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ส่วนประกอบของหุ่นยนต์และประเภทหุ่นยนต์
ตัวอย่างการใช้งานหุ่นยนต์ สายอาชีพของวิศวกรรมหุ่นยนต์ พื้นฐานการออกแบบ
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
การประยุกต์ใช้ไอโอที
(Internet of Things)
พื้นฐานการออกแบบและพัฒนาระบบ
สมองกลฝังตัว (Embedded System)
การใช้งานเซนเซอร์และตัวขับเคลื่อน
เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลของระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
(Internet of Things: IoT) บูรณาการร่วมกับการควบคุมอุปกรณ์ระยะไกลสำหรับ
ภาคอุตสาหกรรม
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality)
พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีความจริงเสริม การออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชันความจริงเสริม และการประยุกต์ใช้งานแอพพลิเคชันความจริงเสริมร่วมกับ
การควบคุมระบบอัตโนมัติ
วิทยาการข้อมูล
(Data Science)
พื้นฐานการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาการข้อมูล ได้แก่ การตั้งคำถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ
ผ่านการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาวิเคราะห์ตามกระบวนการและนำผลการวิเคราะห์มา
ใช้ประโยชน์
ปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence)
บทนำของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ส่วนประกอบของหุ่นยนต์และประเภทหุ่นยนต์
ตัวอย่างการใช้งานหุ่นยนต์ สายอาชีพของวิศวกรรมหุ่นยนต์ พื้นฐานการออกแบบ
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
โครงงานด้านวิทยาการหุ่นยนต์
ปัญญาประดิษฐ์ และโค้ดดิ้ง
(Robotics, AI, and Coding:
RAC Project)
การบูรณาการองค์ความรู้ของรายวิชา เพื่อแก้ไขโจทย์จริงจากภาคผลิตหรือภาคบริการ
ผ่านกิจกรรม PreWiL เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกงานกับหน่วยงานที่ร่วมโครงการ