conveyor system นายปรีดี พาหิระ โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

บันทึกการทำโครงงานในวันที่ 16/10/66 ถึง 27/10/66

โดยระบบที่พวกผมได้สร้างมันขึ้นมา เรียกง่ายๆก็คือ ระะบบแขนกลจับสิ่งของจากรางหนึ่งไปอีกรางหนึ่ง ซึ่งเป็นโครงงานแรกที่ได้ทำอะไรแบบนี้และคุณภาพของระดับนี้

ดังนั้นกระผมจึงอยากของคุณทางโครงการ ของ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม และ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

การทำงานในวันต่างๆ

16/10/66

วันแรกหลักจากได้โจทย์มากลุ่มของเรา ได้มาศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ ระบบสายพาน และ Motor ว่ามันคืออะไร และ หลังจากนั้น ก็ได้คิดวิธีการขนย้ายแบบคร่าวๆ

17/10/66

วันสอง หลังจากหาข้อมูลเสร็จได้เตรียมตัวมาทำตัวต้นแบบ ซึ่งได้คิดอยู่ 2 วิธี ใช้ sensor ในการวัดและควบคุม กับอีกวิธี ใช้กล้องและในการตรวจจับวัตถุ ซึ่งตัวกระผมเป็นคนพัฒนาการใช้กล้องขึ้นมาวันนี้ได้ติดสายไฟเข้ากับตัว conveyor และลองให้สายพานหมุนดูและนั้งเขียนระบบ image processing ต่อซึ่งสามารถให้มันส่งข้อมูลไปยัง MQTT ได้

18/10/66

วันนี้ได้ติดสายไฟเข้ากับตัว conveyor และลองให้สายพานหมุนดูและนั้งเขียนระบบ image processing ต่อซึ่งสามารถให้มันส่งข้อมูลไปยัง MQTT ได้

มีการออกกริปเปอร์ตัวแรกโดยออกแบบให้ของจากสายพานไหลมาสู่ตัวกริปเปอร์ และเอาไปปรินท์

19/10/66

วันนี้ได้ไปที่บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริคและหลังจากกลับมาได้ไปเช็คกริปเปอร์ แต่ไม่สำเร็จ จริงเอาไปปรินท์อีกรอบและรอมารับในอีกวันหนึ่ง ซึ่งวันนี้ได้ลองขยัยสายพาน และนำCOBOT มาเชื่อต่อ

20/10/66

ได้มาดูงานที่ปรินท์ใว้ ซึ่ง ไม่สำเร็จอีกรอบ และมองว่าการออกแบบของกริปเปอร์ตัวแรกใช้งานได้ไม่ค่อยมีประสิธิภาพ จึงได้มีการออกแบบกริปเปอร์ตัวที่ 2 เอาใว้ ได้เปลี่ยนจาก ESP mี่ควบคุมมอร์เตอร์ เปลี่ยนเป็นตัว COBOT อย่างแท้จริงซึ่งดูมีประสิธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น และได้พยามให้ ESP เชื่อมกับ image processing พอเปลี่ยนการทำงานจึงได้เปลี่ยนไปเป็น Sensor ทั้งหมดแทน

21/10/66

พัฒนาทำให้หุ้นยนต์ทำงานได้เร็วขึ้นและออกแบบกริเปอร์ใหม่เป็นรุ่นที่ 3 ให้กระชับเล็กลง แต่ติดปัญหาคือต้องเหล้าปลายมันก่อนที่จะสามารถเชื่อเข้ากับตัว กริเปอร์ได้

22/10/66

ทำให้หุ้นยนต์เร็วขึ้นกว่าเกิมโดยการเปลี่ยนวิธีการขยับของตัวหุ่นและได้ออกแบบกริปเปอร์รุ่นที่ 4 ซึ่งมีประสิทธิภาพมากที่สุด

23/10/66

ได้ไปดูงานในบริษัท LUCKY UNION FOODS ซึ่งเป็นการเปิดโลกใหม่ๆ ทำให้ได้เข้าใจแนวคิดว่าหุ่นยนต์มีผลต่อภาคอุตสาหกรรมมากขนาดไหน

24/10/66

ได้ทำตัวต้นแบบสำเร็จ ใช้กริปเปอร์เป็นรุ่นที่4 เล็กและเหมาะกับการใช้งานมากที่สุด ซึ่งวันนี้ก็ได้พัฒนาระบบ image processing สำเร็จและใส่เป็นตัวเลือกที่จะพัฒนาอีกในอนาคต มีวิดีโอตัวอย่าง

25/10/66

เพื่อระบบตรวจเช็ค เมื่อมีของหลุดออกมาจากจุดที่หุ่นยนต์ควรจะหยิบหรือไม่

26/10/66

เพิ่มระบบเสียงเมื่อของหลุดจากจุดที่หุ่นควรจะหยิบและเพิ่มความปลอดภัยด้วยการมีปุ่มเปิดปิดการทำงานของ SENSOR ขึ้นมา และวันนี้เตรียมการนำเสนอโครงงานจบในวันที่ 27/10/66

27/10/66

วันสุดท้ายที่ได้มา Camp รู้สึกว่าสนุกแล้วมีความสุขที่ได้มาเป็นอย่างมาก คุ้มกับเวลาที่ใช้ไป และได้นำเสนองานจบแล้วถึงมีปัญหาบ้างนิดหน่อยแต่ก็ดีแล้ว